สมุนไพรไทยผงาดดันส่งออกแสนล้าน ก.พาณิชย์สบช่อง จัดงาน“ ไทย เฮิร์บ อินโนบิส เนทเวิร์ค 2017” (Thai Herb InnoBiz Network 2017) ขึ้นแท่นฮับ“สมุนไพร”อาเซียน

สมุนไพรไทยผงาดดันส่งออกแสนล้าน ก.พาณิชย์สบช่อง จัดงาน“ ไทย เฮิร์บ อินโนบิส เนทเวิร์ค 2017” (Thai Herb InnoBiz Network 2017) ขึ้นแท่นฮับ“สมุนไพร”อาเซียน

สมุนไพรไทยผงาดดันส่งออกแสนล้านก.พาณิชย์สบช่อง จัดงาน“ ไทย เฮิร์บ อินโนบิส เนทเวิร์ค 2017” (Thai Herb InnoBiz Network 2017) หวังชูศักยภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสู่ฮับอาเซียน พร้อมดัน4 สมุนไพรไทย บัวบก ขมิ้นชัน ไพล และกระชายดำขึ้นแท่นผลิตภัณฑ์ Thailand’s Signature ตลาดระดับโลก

ในภาพอาจจะมี 5 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และ ชุดสูท

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน

ในภาพอาจจะมี 4 คน

ในภาพอาจจะมี อาหาร และ สถานที่ในร่ม

ในภาพอาจจะมี อาหาร

นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันแนวโน้มตลาดและโอกาสในอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย มีการคาดการณ์ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงได้กิจกรรม “Thai Herb InnoBiz Network 2017” ภายในงาน “มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ” ครั้งที่ 14 ขึ้น ณ.อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้โดยวิทยากรจากเยอรมันและจีนร่วมงานเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นเพื่อชูศักยภาพทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในตลาดโลก รวมทั้งจัดโปรแกรมสำรวจศักยภาพสมุนไพรไทยตามโรงงานผลิตสมุนไพรที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ โอกาสและเครือข่ายธุรกิจสมุนไพรไทยด้วยนวัตกรรมทางเกษตร ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรชนิดที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

 

นายวินิจฉัย กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีพืชสมุนไพรประมาณ 11,625 ชนิด แต่มีที่ชุมชนรู้จักสรรพคุณและนำมาใช้ประโยชน์มีเพียง 1,800 ชนิด คิดเป็น 15% ของทั้งหมดและมี 300 ชนิดที่เป็นวัตถุดิบสมุนไพรที่หมุนเวียนในท้องตลาด โดยปัจจุบันไทยส่งออกสมุนไพรเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท สารสกัดจากสมุนไพรมูลค่ากว่า 270 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพู และผลิตภัณฑ์รักษาผิวที่ใช้สมุนไพรเป็นส่วนผสมมูลค่ากว่า 71,000 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดโลก ยอดตัวเลขในอุตสาหกรรมสมุนไพรในตลาดโลกมีมูลค่ารวมกันประมาณ 9.18 หมื่นล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ

 

โดยประเทศที่มีมูลค่าทางการตลาดของสมุนไพรที่สูงเป็นแถบยุโรป ได้แก่ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าตลาดสมุนไพรในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาก็มีอัตราการขยายตัวของการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากได้เริ่มมีความตะหนักถึงความสำคัญของการใช้สมุนไพรและยาแผนโบราณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดสมุนไพรและยาแผนโบราณในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

จะเป็นตลาดสมุนไพรที่มีอัตราการขยายตัวที่มากที่สุด โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยเป็นประมาณร้อยละ 9.1 ต่อปี และสำหรับอัตราการขยายตัวของการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในแต่ละประเทศอยู่ที่ระว่างร้อยละ3-12 ซึ่งกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพสูงที่สุดในตลาดสมุนไพร ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและกลุ่มผลิตภัณฑ์เวชสำอาง
ด้านนางสุรีย์พร สหวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ กำลังเร่งขับเคลื่อนนโยบายกตามแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560 – 2564 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศและต่างประเทศ และยกระดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน โดยมอบหมายสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ​เร่งพัฒนาสมุนไพรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร โดยมีพืชสมุนไพรเป้าหมาย 4 ชนิด ได้แก่ บัวบก ไพล กระชายดำ และขมิ้นชัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ อาหาร ยา และเครื่องสำอาง

 

สำหรับการยกระดับพืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด สู่ผลิตภัณฑ์ Thailand’s Signature สนค. จึงได้วางแนวทางการส่งเสริมและระดับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย อาหาร ยา และเครื่องสำอาง โดยแบ่งออกเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปประเภทต่างๆ ได้แก่ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สินค้าประเภทโภชนเภสัช ผลิตภัณฑ์ประเภทเวชสำอาง ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดและอื่นๆเพื่อยกระดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน

 

ซึ่งปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งความต้องการในการบริโภคเพื่อการสร้างเสริมและดูแลสุขภาพรวมถึงความต้องการในการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสมุนไพรต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสร้างความหลากหลายในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ส่งผลให้สมุนไพรถูกนำไปใช้ในอุตสากรรมหลายประเภทและสมุนไพรบางรายการก็เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและผู้ผลิตเป็นอย่างสูงและสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*