งานสัมมนา”บุกตลาดออนไลน์ สปป.ลาวและระบบการจัดส่งที่ทันสมัย”

งานสัมมนา”บุกตลาดออนไลน์ สปป.ลาวและระบบการจัดส่งที่ทันสมัย”

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโนโวเทล บางนา บริษัท.Bmyself789.กรุ๊บ ได้จัดงานสัมมนาช่องทางการส่งออกสินค้า Sme เพื่อไปจำหน่ายที่ประเทศ สปป.ลาว ประเทศที่มีช่องทางทางกาารตลาดที่กำลังเติบโต คนลาวหันมาสนใจสินค้าจากไทย และคาดว่าปีหน้า 2562 มูลค่าสินค้า sme จะทำมูลค่ากว่า 100 ล้าน งานนี้ได้รับความสนใจจากพ่อค้าแม่ค้าเจ้าของแบรนด์คนรุ่นใหม่หัวใจ Sme อย่างล้นหลาม

ในภาพอาจจะมี 2 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืนคุณกัญณิช พาสุรพลกุล (ขวัญ) CEO บริษัทบีมายเซลฟ์ 789 กรุ๊ป จำกัด (ซ้ายมือ) บริษัทที่ดำเนินกิจการด้านชิปปิ้ง ขายสินค้าและผู้จัดจำหน่ายสินค้า sme ที่ สปป.ลาว เมื่อ2ปีก่อนจนประสบผลสำเร็จ ได้มาเผยเทคนิค เคล็ดลับ การตีตลาดสินค้าที่ลาว ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การขนส่งสินค้า ให้ถึงลูกค้าอย่างประหยัดและปลอดภัย การใช้ช่องทางสื่อออนไลน์ การใช้แอพลิเคชั่นในการจัดส่ง ตลอดการรับชำระเงิน

เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี คุณขวัญเริ่มจับช่องทางพัฒนาธุรกิจใหม่คือ การนำแบรนด์สินค้าอื่นๆเข้าไปจำหน่ายโดยผ่านระบบ โลจิสติกส์ (Logistic) ที่ส่งสินค้าเองถึงบ้านและเก็บเงินปลายทาง ซึ่งเป็นวิธีที่ใหม่และกำลังได้รับความนิยมมากที่สุดในเวลานี้ที่ สปป.ลาว และเป็นเจ้าแรกที่บุกเบิกอีกด้วย จนเป็นที่สนใจของ SME เจ้าอื่นๆ เข้ามาปรึกษาและสนใจอยากเข้าไปร่วมค้าขายที่ลาว เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ
จนได้จับมือกันกับ โปรปลา “คุณนภชนก คนคล่อง” โค้ชออนไลน์ที่ปรึกษาการค้าทางออนไลน์ที่มีประสบการณ์กว่า 17 ปี เข้ามาเป็นที่ปรึกษาแบรนด์ต่างๆที่สนใจจะตีตลาดออนไลน์ให้ดังไว ให้เป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ และทำยอดขายได้สูง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างรวดเร็วและชัดเจนแต่ใช้ระยะเวลาน้อยเพียง 1-2 เดือนเท่านั้น

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังยืน และ ข้อความ

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

คุณกัญณิช พาสุรพลกุล ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า “ปัจจุบัน สปป.ลาว กำลังเนื้อหอมทำการค้าได้ดีกว่าและง่ายที่สุดในกลุ่มประเทศ CLMV เพราะกฎเกณฑ์ การค้า การลงทุน ภาษี ก็ไม่เข้มงวดเหมือนเดิม มีนักลงทุนรายใหญ่ๆเข้าไปลงทุนที่ลาวแทบจะทุกวงการอีกทั้งเศรษฐกิจของลาวกำลังไปได้ดี คนรวยก็รวยที่สุด คนจนก็มีเหมือนคนไทย แม้สินค้าบางอย่างจะแพงกว่าไทย ช่องทางการต่อยอดทางธุรกิจ SME ของไทย กำลังไปได้ด้วยดี ประชากรชาวลาวสนใจสินค้าทั้งอาหาร การกิน กระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอางส์ หรือสินค้าอื่นๆ ที่มาจากไทยอีกจำนวนมาก เพราะชาวลาวต่างก็ดูทีวีจากไทย ทำให้การรับรู้สินค้าจากไทยมีสูง ช่องทางการตลาดจึงไม่ยากถ้าสินค้าคุณดีและคุณภาพรับรองยอดขายไม่มีตก แต่ต้องได้มาตรฐานรับรองจาก อย.ทั้งจากไทยและลาว ปัจจุบันบริษัทฯมียอดออเดอร์เดือนละหลายร้อยออเดอร์ โดยเฉพาะการขนส่งแบบเก็บเงินปลายทางที่เป็นเจ้าแรกที่ไปบุกเบิก พร้อมตั้งเป้าปีหน้าไว้ถึง 100 ล้านบาท ลู่ทางการค้าขายกับ สปป.ลาวกำลังไปได้ด้วยดี และทางบ.บีมายเซลฟ์ 789 หันมาทำธุรกิจขนส่งสินค้า เราส่งสินค้าทั่วประเทสลาว และเก็บเงินปลายทาง สินค้าถึงลูกค้ารวดเร็วปลอดภัยและประหยัดเวลาจึงได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมาก”

สปป.ลาว ประเทศในกลุ่ม AEC เป็นประเทศที่เข้าไปทำตลาดSME การขนส่งทั้งชิปปิ้งและโลจิสติกส์ ง่ายที่สุดในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียตนาม) เนื่องจากประชาชนลาวมีความคุ้นเคยกับข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าผ่านสื่อต่างๆ จากประเทศไทยเป็นอย่างดี เพราะคุณภาพและราคาที่เหมาะสม ทำให้สื่อสารการตลาดไม่ยากนัก การโฆษณาผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ และสื่อโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คทั้งไลน์ เฟสบุ๊คส์ก็สะดวก สบายแต่เจ้าของผลิตภัณฑ์ก็ต้องทำการตลาดในประเทศเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเน้นที่จุดขาย เพื่อกระตุ้นการซื้อ และสินค้าทุกประเภทต้องปลอดภัย มีอย.ก่อนจะทำการส่งออกนอกประเทศ

ปัจจุบันสปป.ลาว เรียกได้ว่าเปลี่ยนไปอย่างมาก ทันสมัย พัฒนาขึ้น ฎระเบียบต่างๆ มีความชัดเจนมากขึ้น แต่ที่เหมือนเดิมคือ การรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมเดิมไว้ได้อย่างดี การนุ่งซิ่นคาดเข็มขัดของแม่หญิงลาวก็ยังมีมนต์เสน่ห์เหมือนเดิมแก่ผู้ได้พบเห็น

ประชาชนสปป.ลาวจะมีพฤติกรรมจงรักภักดีต่อแบรนด์สูง สิ่งสำคัญคือ ลาวเป็นสังคมที่มีความใกล้ชิดกันค่อนข้างมาก ร้านค้าจะเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคหากร้านค้าแนะนำสินค้าอะไรจะมีอิทธิพลต่อผู้ซื้อมากกว่าโฆษณา จึงควรผูกมิตรกับเครือข่ายร้านค้าและให้เกียรติ รวมถึงเคารพในการดำเนินธุรกิจ

การขนส่งใน สปป.ลาวปัจจุบันหัวเมืองต่างๆการขนส่งสะดวกสบายถนนหาทางได้รับการพัฒนามีความปลอดภัยก็สูงกว่าเมื่อก่อน

หมายเหตุ: ด้านสกุลเงินที่ใช้ในการค้าขายคือ เงินกีบ เงินบาทไทย และเงินยูเอสดอลล่าห์

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*