งานแถลงข่าวเปิดตัว “RUBIKTRIPS”

“RUBIKTRIPS” แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวครบวงจร สัญชาติไทยรายแรก เจาะกลุ่ม นักท่องเที่ยว FIT ขานรับนโยบายภาครัฐ
ดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศเติบโต

“เจนโทเซีย” ผู้ให้บริการระบบแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายใต้ชื่อ “RubikTrips” สนับสนุนการท่องเที่ยวระบบ Digital Tourism เต็มรูปแบบ ครั้งแรกในไทย เน้นเจาะกลุ่มหลักนักท่องเที่ยวจีนและCLMV มั่นใจบริการโดดเด่น สามารถแนะนำทริปการท่องเที่ยวได้ครบวงจรระดับรายบุคคล ตั้งเป้าปี 2561 มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

ในภาพอาจจะมี 6 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน

คุณชาญวิทย์ วิทยฐานกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจนโทเชีย จำกัด ประเทศไทย กล่าวว่า “RubikTrips” เป็นแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวแบบออนไลน์ ที่นักท่องเที่ยวสามารถจอง และชำระเงินได้ภายในเวลาอันสั้น รวมถึงแนะนำโปรแกรมการท่องเที่ยว และวางแผนการเดินทางให้ตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยวแต่ละบุคคล ผ่านเว็บไซต์ www.rubiktrips.com ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ กิจกรรม ระยะเวลา หรือแม้แต่งบประมาณค่าใช้จ่าย สำหรับการท่องเที่ยว รวมถึงยังมีแผนการท่องเที่ยวที่เป็นลักษณ์โดดเด่นเป็นที่นิยมและเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยอีกด้วย เช่น การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์หรือเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน การท่องเที่ยวเชิงการศึกษาด้านมวยไทยทำอาหารไทย และการท่องเที่ยวในรูปแบบการพักผ่อน เป็นต้น โดยกลุ่มเป้าหมายจะเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่เดินทางแบบอิสระ หรือการท่องเที่ยวแบบ FIT (Free Independent Traveler) เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวจีนถือเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนและผลักดันตลาดการท่องเที่ยวในประเทศไทยให้เติบโต รวมไปถึงมีส่วนในการผลักดันเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวมได้อีกทางหนึ่งด้วย

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ชุดสูท

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ชุดสูท

ในภาพอาจจะมี 4 คน, สถานที่ในร่ม

นอกเหนือจากความสะดวกสบายที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ แพลตฟอร์มนี้ ยังได้ถูกพัฒนาขึ้นพิเศษ เพื่อสนับสนุนและสร้างโซลูชั่นการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยรวบรวมเอาโปรแกรมทัวร์ วิธีการเดินทาง มัคคุเทศก์ ร้านอาหาร โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากกรมการท่องเที่ยว มาไว้ให้นักท่องเที่ยวชาวจีนได้เลือกซื้อเลือกใช้บริการ นอกจากนี้ “RubikTrips” ยังเชื่อมต่อกับ Wechat, Weibo, Youku ในการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ และมีโปรแกรม Chatbot คอยให้ความช่วยเหลือหรือให้ข้อมูลต่างๆ ซึ่งจากการที่บริษัทฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานภาครัฐ ในเรื่องของมัคคุเทศก์ และสถานประกอบการที่ได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์งวงช้าง ทำให้สร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยได้ว่าจะมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบด้านค่าใช้จ่ายอีกด้วย ขณะเดียวกันเรายังช่วยกระดับคุณภาพให้แก่มัคคุเทศก์และนักท่องเที่ยวให้สามารถสื่อสารกันได้สะดวกมากขึ้น สามารถจัดการตารางการเดินทางตามความต้องการและเลือกเวลาที่เหมาะสมได้อย่างสะดวกสบาย มีประสิทธิภาพ ตลอดจนนักท่องเที่ยวยังสามารถให้คะแนนมัคคุเทศก์ผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้เช่นกัน เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย และเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวต่อไป

“ที่สำคัญการเข้ามาทำธุรกิจการท่องเที่ยวระบบออนไลน์ ทำให้เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะลดปัญหาของผู้ประกอบการและในขณะเดียวกันช่วยสร้างโอกาสในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการท่องเที่ยวบน Online platform ได้มากขึ้น จึงเห็นว่านอกจากโอกาสทางธุรกิจ ทั้งจากการลงทุนจาก VC รายต่างๆ ที่ให้ความสนใจแล้ว ยังเป็นส่วนช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศเติบโต รวมถึงประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคล ที่ปัจจุบันภาครัฐไม่สามารถเรียกเก็บได้จาก OTA ต่างประเทศ ให้รับรู้ได้อีกทางหนึ่งด้วย”

คุณธีรพล อัศวธิตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้ Online platform ด้านการท่องเที่ยวของคนไทย ประสบความสำเร็จในระดับโลกนั้น คือต้องสร้างความแตกต่างเพื่อมุ่งเน้นตลาดนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวในเซกเมนต์ใหม่ๆ ที่ใช้จุดเด่นที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ประเทศไทยเองมีจุดขายที่หลากหลายกว่าแค่สายการบินและโรงแรม เราเป็นทั้ง Medical hub, Retirement & Rehabilitation เรามีบริการด้าน wellness ในระดับโลก เรามีอาหารที่อร่อย ทั้ง 5 ดาวจนไปถึง street food มีจุดท่องเที่ยว unseen อีกมากที่ชาวต่างชาติยังไม่รู้จัก ตรงนี้เองเป็นจุดแตกต่าง เป็นช่องว่างที่สามารถพัฒนาให้บริการได้ และหากทำการตลาดได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายอย่างเช่นประเทศจีน หรือสร้างส่วนแบ่งการตลาดแค่ 5% จากรายได้รวม ก็เป็นเม็ดเงินมหาศาล มีโอกาสได้รับการสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกแล้ว

สำหรับกลยุทธ์หลักของ RubikTrips ที่สร้างความแตกต่างมากกว่า Platform อื่นๆ คือการสร้าง solution ที่ส่งเสริม ecosystem ในตลาดท่องเที่ยวที่ดีกว่าเดิม รวมถึงการตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว และเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการต่างๆ ในประเทศไปพร้อมๆ กัน และด้วยสถานการณ์การท่องเที่ยวแบบ FIT ของกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น และตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ มักจะเลือกเก็บประสบการณ์และค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความแตกต่าง จึงเป็นที่มาของ DNA การให้บริการที่เป็น user generated travel platform ให้ผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดและสามารถปรับเปลี่ยนแผนการเดินทางได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ และสามารถจองได้ทันที โดยรวบรวมบริการด้านต่างๆ อาทิ โรงแรมกว่า 10,000 ราย สายการบินกว่า 300 สายการบิน ผู้ให้บริการนำเที่ยวทั่วประเทศกว่า 300 ราย บริการด้าน Medical ต่างๆ กว่า 1,000 รายการ แผนการเดินทางที่คลอบคลุม 23 จังหวัด ตลอดจนบริการจัดงานแต่งงานแบบครบวงจร และบริการด้าน Culture เช่น Thai boxing, Culinary เป็นต้น

ดร.ชูเกียรติ วงศ์เทพเตรียน กรรมการที่ปรึกษา กล่าวเสริมว่า จากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เปลี่ยนแปลงไป นโยบายใหม่ๆ ของจีน เช่น second child policy ก่อให้เกิดความต้องการในการทำ IVF ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2560 ที่ผ่านมา รวมถึงค่านิยมใหม่ของกลุ่ม Millennials เช่น ความนิยมในปรับรูปหน้าหรือทำศัลยกรรม ก็เกิดจากการได้รับความนิยมจาก Application ใหม่ๆ เช่น Little red book การนิยมร้านอาหารที่ได้รับการตอบรับที่ดีจาก Application ที่ได้รับความนิยมเช่น dianping เป็นต้น ซึ่งกล่าวโดยสรุป คือ ผู้บริโภคชาวจีนมีวิถีการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปจากเดิม จากสื่อ social ต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

นอกเหนือจากการท่องเที่ยวในรูปแบบการพักผ่อน บริษัทฯ ยังได้เล็งเห็นการพัฒนาต่อยอดการใช้จ่ายต่อหนึ่งนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น บริษัทฯ จึงมีนโยบายการทำบริการด้านอื่นๆ อาทิการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) การท่องเที่ยวเชิงการศึกษา (Educational Touriusm) การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism) เป็นต้น นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร กรรมการที่ปรึกษา กล่าวว่า บริการด้าน Medical tourism ต่างจาก medical hub โดยการบริการด้าน medical hub จะเน้นการบริการในโรงพยาบาล ให้ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับ คลอบคลุมตั้งแต่การวางแผนการเดินทาง การจอง ที่พัก การเดินทาง และกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่เป็น one stop service สะดวกกับผู้ใช้บริการจากต่างประเทศ ขณะที่การบริการ Medical tourism ไม่ได้หมายถึงแค่การเข้ามารักษาโรคเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบริการด้าน dental, wellness, anti-aging และ aesthetic อีกด้วย ซึ่งตลาดด้านความงามก็เป็นตลาดที่เติบโตมากในปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม เรายังมีการสร้างบริการใหม่ Medical tourism ให้มีความแตกต่างจากบริการที่มีอยู่เดิม คือเราสร้างการบริการ Telemedicine ที่ให้คนไข้หรือญาติในต่างประเทศ สามารถปรึกษาแพทย์ได้จริงก่อนการเดินทาง และการที่ทางบริษัทมีบริการท่องเที่ยวครบวงจรอยู่แล้ว จึงสามารถนำเสนอแผนการเข้ารับการรักษา การฟิ้นฟู ประกอบกับการบริการด้านการท่องเที่ยวได้ครบจบในที่เดียว นอกจากนั้นเอง บริษัทได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับทาง GHA (Global Healthcare Accreditation) ซึ่งเป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานการให้บริการด้าน Medical tourism ระดับโลก ต่อยอดให้กับบริษัทร่วมให้บริการกับทางโรงพยาบาล, คลินิก และ Labs ต่างๆ ภายใต้มาตรฐานของ GHA ได้อีกด้วย

ด้านสถาบันการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ กล่าวว่า ปัจจุบันสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ต้องปรับตัวจากจำนวนนักศึกษาในประเทศที่ลดลง ในขณะที่หลายแห่งมีจำนวนนักศึกษาต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาประเทศจีน ซึ่งผู้ปกครองชาวจีนนิยมส่งลูกหลานมาเรียนในประเทศไทย นอกจากจะได้รับความรู้แล้วยังเป็นการสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจในประเทศไทย อีกทั้งนักศึกษาจีนยังนิยมมาเรียนด้านวิชาชีพด้วย เช่น เวชศาสตร์ชะลอวัย ความงาม มวยไทย อาหารไทย แพทย์แผนไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องชื่นชมกลุ่มมหาวิทยาลัยหลายราย ที่นอกจากจะพัฒนาหลักสูตรภาคอินเตอร์แล้ว ยังมีการเปิดตัวภาควิชาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับ Mega trend ของโลก

สำหรับการขานรับด้านนโยบายของประเทศในการชูเมืองรองเป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวในปี 2561 ที่เชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ที่เหมาะสมทั้งในด้านการบริหารและการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางทั้งในและนอกประเทศให้สามารถ “เชื่อมต่อ” และ “เข้าถึง” แหล่งท่องเที่ยวได้ คุณจุฑาพร เริงรณอาษา ให้ความเห็นว่า ลำดับแรกคงต้องลองดูถึงความพร้อมของผู้ประกอบการในแต่ละพื้นที่ก่อน ว่ามีศักยภาพในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวหรือไม่ ในระยะต้น คงต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการนำเที่ยวรายต่างๆ ในการสร้าง แผนการเดินทางที่น่าสนใจ และให้บริการได้จริง ส่วนต่อมาคือการประชาสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงมาจากการทำ PR ในประเทศเป้าหมาย ผลักดันทั้งจากภาครัฐและเอกชน ส่วนทางอ้อมจะเกิดจากธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ให้การท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ที่ยกกองเข้ามาถ่ายทำในประเทศ ซึ่งช่วยปลุกกระแสได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

 

เกี่ยวกับบริษัท

บริษัท เจนโทเชีย จำกัด ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ใช้กลยุทธ์แบบแพลตฟอร์มเข้ามาใช้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งบริษัทฯ ได้สร้าง “RUBIKTRIPS” ขึ้นในปี 2017 ซึ่งเป็นเว็บไซต์เพื่อใช้เป็นตัวแทนการทำธุรกิจนำเที่ยวผ่านระบบออนไลน์ที่ประกอบการในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังให้บริการด้านการนำเที่ยวในประเทศไทยอีกด้วย โดยเริ่มจากการเป็นบริษัทตัวแทนด้านการตลาดดิจิทัล ในต้นปี 2016 ที่สร้างทางเชื่อมระหว่างผู้ให้บริการหรือผู้ผลิตในประเทศไทยกับผู้บริโภคในประเทศจีน โดยเป้าหมายของบริษัทฯ คือ การได้นำเสนอสินค้าหรือการบริการออกสู่ระดับสากล และเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้บริโภคจากประเทศจีน และหาโอกาสเปิดธุรกิจใหม่ในตลาดจีน ต่อมากลางปี 2016 บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจในส่วนของการบริการขายตั๋วให้กับนักเดินทางสัญชาติจีน ซึ่งดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย

สำหรับสถานประกอบด้านการท่องเที่ยวรายใดที่สนใจติดต่อธุรกิจหรือข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
บริษัท เจนโทเชีย จำกัด ประเทศไทย คุณธัญลักษณ์ แซ่ลี้ 02-437-6500 ต่อ 540

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ :
พริสไพออริตี้ คอมมูนิเคชั่น โทร.02-662-548-77-8
ปัทมา ผิวอ่อน (จิ๊บ) โทร. 091-870-5705, Email: pattama.p@prispriority.com
พัชรียา ดวงกำ (อ้อม) โทร.094-297-6772 , Email: pachareeya@prispriority.com

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*