“กลุ่มสามารถ” ลั่น ปี 61 พร้อมลุยธุรกิจดิจิทัล หลังปรับทัพเสริมแกร่งครบเครื่อง ตั้งเป้ารายได้ 20,000 ล้านบาท

“กลุ่มสามารถ” ลั่น ปี 61 พร้อมลุยธุรกิจดิจิทัล หลังปรับทัพเสริมแกร่งครบเครื่อง ตั้งเป้ารายได้ 20,000 ล้านบาท

26 ม.ค. อ.เขาใหญ่ : กลุ่มสามารถ ตั้งเป้าปี 61 ขยายตัวทั้งรายได้และกำไร หลังการปรับองค์กรครั้งใหญ่ในปีที่ผ่านมา โดยชู SAMART Telcoms ขึ้นแท่นผู้ให้บริการโทรคมนาคม System Integrator เบอร์หนึ่ง จ่อเซ็นต์สัญญาสร้างรายได้สูงสุดทะลุหมื่นล้าน ด้าน SAMART Digital จะเห็นการพลิกฟื้นและเติบโตจากธุรกิจใหม่ๆ ที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มและก่อให้เกิดรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลุ่ม SAMART Utrans กำลังศึกษาธุรกิจด้านคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม รวมทั้งมีแผนนำบริษัท Air Traffic Control Services เข้าจดทะเบียนในตลท. ภายในสิ้นปีนี้ โดยกลุ่มสามารถตั้งเป้ารายได้รวม ปี 2561 จำนวน 20,000 ล้านบาท

ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน, ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า “ในปี 2560 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของสายธุรกิจไอโมบาย แม้บริษัทจะได้รับผลกระทบ ทั้งด้านรายได้และภาพลักษณ์จากการตัดธุรกิจมือถือออก แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพื่อวางรากฐานให้กับธุรกิจใหม่และสร้างความแข็งแกร่งในอนาคต ในปีที่ผ่านมาบริษัทจึงเน้นการปรับปรุงองค์กรและการแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ จนเกิดธุรกิจ Digital Trunked Radio และธุรกิจให้เช่าเสาสัญญาณ Co-Tower ในกรมอุทยาน ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ในปี 61 ส่วนสายธุรกิจ ICT Solutions ภายใต้การบริหารของสามารถเทลคอม ถือว่ามีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจ สามารถเซ็นต์สัญญาได้ 80 โครงการ รวมมูลค่า 6,000 ล้านบาท ส่งผลให้มีงานในมือมูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน อาทิ โครงการจัดซื้อและว่าจ้างบํารุงรักษาระบบ Core Banking ธนาคารอาคารสงเคราะห์, โครงการซื้อขายพร้อมติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคมทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นต้น ด้านสายธุรกิจ U-trans ก็ประสบความสำเร็จในการขยายอายุสัมปทานการให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศ ในประเทศกัมพูชา โดยบริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) ได้ต่อสัญญาเพิ่มอีก 7 ปี จากเดิม 32 ปี เป็น 39 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2544-2583 นอกจากนี้ บริษัท เทด้า ก็สร้างรายได้จากการบริหารงานก่อสร้างโครงการสายส่งสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยมีงานในมือแล้วกว่า 2 พันล้านบาท และอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการเติบโตโดดเด่น คือ ธุรกิจกล้องวงจรปิด ของบริษัท วิชั่น แอนด์ ซิเคียวริตี้ ซิสเต็ม ทำรายได้สูงสุดและมีกำไรพุ่งขึ้นเกือบ 500 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ผ่านมา
ปี 2018 แต่ละสายธุรกิจจะมีจุดมุ่งเน้นที่แตกต่างกันไปตาม Business Life Cycle เช่น SAMART Digital : Year of Changes & Progressive เน้นการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างธุรกิจ, SAMART Telcoms : Year of Challenges to beat New High เน้นการทำสถิติสูงสุดทั้งมูลค่าสัญญาที่เซ็นได้และการเติบโตของรายได้ประจำ, SAMART Utrans : Year of Chances & New Business Expansion เป็นปีแห่งการขยายธุรกิจและการลงทุน ทั้งนี้ SAMART Corporation ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ยังมีนโยบายที่จะดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง ไม่จำกัดบทบาทแค่ Holding Company อีกต่อไป เพื่อสร้าง Value สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยจะเปิด SAMART Next Forum เพื่อค้นหาธุรกิจ และพร้อมลงทุนกับกลุ่ม Start up ที่น่าสนใจ
ในปี 2561 คาดว่ากลุ่ม SAMART Telcoms จะมีรายได้ทะลุ 1 หมื่นล้านบาท ด้วยปัจจัยหนุนมากมายโดยเฉพาะการผลักดันของภาครัฐต่อการพัฒนาประเทศ 4.0 ประกอบกับความตื่นตัวของภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าในช่วง 3 ปีนี้ จะมีการลงทุนด้านไอทีภายในประเทศมากถึง 5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มโครงการในมือ ( Backlog ) ให้ได้ถึง 20,000 ล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้น ยังเน้นการเพิ่มรายได้ประจำให้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกเหนือจากบริการด้านไอซีทีแล้ว ยังจะมีการเปิดตัวบริการ Cyber Security Solution ที่สอดคล้องกับโลกดิจิทัล ภายใต้ชื่อบริษัท SAMART SecureInfo ให้บริการป้องกันความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลระดับสูงสุด
ด้าน SAMART Digital หรือ SDC หลังการเปลี่ยนแปลงธุรกิจครั้งใหญ่ในปีที่ผ่านมาในปีนี้ จะเห็นความคืบหน้าของธุรกิจใหม่ชัดเจน คือ Digital Trunked Radio ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้ ทั้งจากการจำหน่ายเครื่องลูกข่ายวิทยุคมนาคมระบบดิจิทัล (ราคาเครื่องละ 20,000-60,000 บาท ตามสเปคในแต่ละรุ่น ) และรายได้จากค่าใช้บริการรายเดือนๆละ 800 บาทต่อเครื่อง โดยภายในปีนี้ คาดว่าจะติดตั้งโครงข่ายสถานีฐานได้ประมาณ 1,000 แห่งและตั้งเป้าจำหน่ายเครื่องลูกข่ายจำนวน 50,000-100,000 เครื่อง นอกจากนี้ บริษัทยังเริ่มต้นธุรกิจ Co-Tower โดยได้รับสัญญาสัมปทานในการติดตั้งเสาโทรคมนาคม ในกรมอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ Mobile Operator เช่าใช้ ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยในปีนี้ จะติดตั้งเสา Co-Tower ให้ได้ 250-300 ต้น ส่วนบริการ Content ทั้ง BUG และ EDT ได้มีการยกเครื่อง การให้บริการข้อมูลด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่ตลาดท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตไม่จำกัด ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวบริการใหม่ภายใต้ความร่วมมือกับภาครัฐ ในเร็วๆนี้
สำหรับ SAMART U-trans ก็จะมีการเคลื่อนไหวที่โดดเด่นเช่นกัน ล่าสุดมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ SAMART Transolutions เพื่อบริหารธุรกิจด้านคมนาคมอย่างชัดเจน โดยมี Cambodia Air Traffic Services เป็นหัวหอกสำคัญ และคาดว่าจะนำบริษัท SAMART Transolutions เข้าจดทะเบียนในตลท.ภายในปลายปีนี้ ส่วนบริษัท เทด้า ก็มีโอกาสในการเพิ่มรายได้จากงบประมาณโครงการสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวงอีกหลายพันล้านบาท
นายวัฒน์ชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า “หลังการปรับองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความมั่นคง และยังคงมุ่งเน้นการส่งมอบความเป็นเลิศ 4 ด้าน หรือ “SAMART 4 Excellence” คือ 1.Digital Solutions Excellence การพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็น Digital มากขึ้น 2.Service Excellence การพัฒนาบริการ 3.Operation Excellence การนำเทคโนโลยีมาใช้ในขบวนการทำงานอย่างเต็มที่ และ 4.Offering Excellence การส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมปี 2561 จำนวน 20,000 ล้านบาท”
“กลุ่มบริษัทสามารถ” มุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการด้านเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอย่างครบวงจร ภายใต้บริษัทในเครือกว่า 20 บริษัท และมี 4 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) และล่าสุด บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม PR.Corp.
วรรษกร ปลื้มจิตต์ (ตุ๊ก)
โทร. 08-5918–1175
วทิรา ลุยากร (ใหม่)
โทร.08-5918-1172

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*