“วันปิยะ”ชวนตามรอย 111 ปี เสด็จประพาสต้นมณฑลนครสวรรค์

“วันปิยะ” ชวนตามรอย 111 ปี เสด็จประพาสต้นมณฑลนครสวรรค์

อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าวันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อปวงชนชาวไทยในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย ในปี ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ในเวลานั้นมีการประมาณว่าประเทศไทยเรามีทาสอยู่เป็นจำนวนมากกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองทั้งหมด รวมไปถึงพระราชกรณียกิจในการปฏิรูปการปกครอง การริเริ่มโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทั้ง การก่อตั้งการประปา การไฟฟ้า กรมไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสร้างทางรถไฟ สร้างถนนสมัยใหม่ ขุดคลองหลายแห่ง แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยนึกถึงเกี่ยวกับพระองค์ท่านคือพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ในการเสด็จประพาสต้นและประพาสหัวเมืองต่าง ๆ

การเสด็จประพาสต้นเป็นการเสด็จประพาสตามหัวเมืองแบบไม่เป็นทางการปกปิดมิให้ใครรู้จักพระองค์ โดยทรงเรือมาดเก๋ง 4 แจวลำหนึ่งเป็นเรือพระที่นั่งแล้วมีเรือบรรทุกเครื่องครัวที่โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราช (อ้น) เป็นผู้คุมเครื่องครัว ทรงพระดำรัสเรียกเรือลำนี้ว่า “เรือตาอ้น” เรียกเร็ว ๆ เสียงเป็น “เรือต้น” ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าประพาสต้น สาเหตุที่การเสด็จประพาสต้นนั้นเป็นพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะบำรุงดูแลทุกข์สุขราษฎรอย่างใกล้ชิด โดยบางคราวทรงปลอมแปลงพระองค์เป็นสามัญชนเข้าไปปะปนกับราษฎร เพื่อที่จะทอดพระเนตรเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของราษฏรและการปฏิบัติหน้าที่ของราชการอย่างแท้จริง ทำให้พระองค์ได้ทรงนำสิ่งที่ได้ไปแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขแห่งราษฎรสยาม รวมไปถึงการที่พระองค์ทรงโปรดการถ่ายภาพ ทำให้เราได้เห็นภาพประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ที่หาชมจากที่ไหนไม่ได้

จังหวัดนครสวรรค์ หรือมณฑลนครสวรรค์ในขณะนั้น ได้มีโอกาสรับแสดงในคราวประพาสต้นถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2449 และในปี พ.ศ. 2451 ซึ่งพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงแวะเยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดนครสวรรค์มากมายหลายแห่งในช่วงเวลาดังกล่าว โดยสถานที่น่าสนใจที่ทรงเสด็จประพาสต้นได้แก่

1. วัดบ้านแดน หรือ วัดอรุณราชศรัทธาราม ตั้งอยู่อำเภอบรรพตพิสัย ที่วัดนี้รัชกาลที่ 5 ทรงใช้เป็นที่ประทับแรมในพลับพลาหน้าวัดบ้านแดน เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ต่อมาในปี พ.ศ.2452 ได้พระราชทานสิ่งของและเครื่องสังเค็ตในงานพระศพพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ให้กับหลวงพ่อแหยม เจ้าอาวาสวัดบ้านแดนในขณะนั้น ปัจจุบันเครื่องสังเค็ตดังกล่าวที่วัดบ้านแดนได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ผู้สนใจสามารถติดต่อเข้าไปเยี่ยมชมได้

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

2. วัดเขาหน่อ เป็นจุดหมายต่อจากที่ทรงเสด็จวัดบ้านแดนแล้ว โดยได้ทรงพระราชดำเนินโดยแคร่ไม้ไผ่คานหามไปยังเขานอ (เขาหน่อ) มีระยะทางกว่า 87 เส้น หรือประมาณ 3 กิโลเมตร ที่เขาหน่อนี้รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสรงน้ำในสระที่ปัจจุบันได้เรียกว่า สระเสด็จ แล้วมีผู้เล่าเรื่องตำนานเขาหน่อถวายว่า ภูเขาแห่งนี้เป็นที่นางพันธุรัตตามมาพบพระสังข์ โดยมีมนต์มหาจินดาเขียนอยู่ที่แผ่นศิลา ใครที่ได้มาเที่ยวที่เขาหน่อ นอกจากจะได้ตามรอยเสด็จประพาสต้น ยังสามารถปีนบันไดลัดเลาะเหลี่ยมเขาหินปูนขึ้นไปชมทิวทัศน์อันสวยงามบนยอดเขา สัมผัสอากาศเย็นสบาย แล้วกัลลงมานมัสการพระนอน ให้อาหารฝูงลิงกว่าหมื่นตัว ปิดท้ายด้วยการชมขบวนพาเรดค้างคาวนับล้านตัวที่น่าตื่นตาตื่นใจได้ในยามเย็นย่ำของทุกวัน

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ สถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

3. วัดหัวดงใต้ เป็นสถานที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเสด็จประพาสต้นและประทับแรมหน้าวัด ทำให้ที่นี้มีพระบรมรูปจำลองของพระองค์ท่าน แกะสลักจากไม้สักทองทรงเครื่องต้นสวยงาม และมีขบวนเรือเสด็จประพาสต้นจำลองให้ศึกษา นอกจากนี้ที่วัดหัวดงใต้ยังมีหลวงพ่อโต พระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านให้กราบนมัสการอีกด้วย

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ตาราง และ สถานที่ในร่ม
4. วัดเก้าเลี้ยว พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงเสด็จประพาสต้นที่ชุมชนเก้าเลี้ยว ซึ่งเป็นตลาดเก่าโบราณมีชุมชนชาวจีนหลายกลุ่มอาศัยอยู่ ที่ศาลเจ้าพ่อเก้าเลี้ยวของชุมชนนี้ได้เก็บรักษาเกี้ยวเครื่องดนตรีอายุกว่า 100 ปีที่เคยใช้รับเสด็จ ใครที่มาเที่ยวตลาดเก้าเลี้ยวนอกจากจะมีร้านอาหารอร่อย ๆ และขนมหวานมากมายให้เลือกชิมกันแล้ว ยังสามารถเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กราบพระบรมสารีริกธาตุ พระมหาเจดีย์พุทธชยันตี 2,600 ปีการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าได้ที่วัดเก้าเลี้ยวที่อยู่ไม่ไกลกันได้

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, เมฆ และ สถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี ต้นไม้, ท้องฟ้า, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

5. วัดมหาโพธิใต้ (วัดหลวงพ่อเฮง) เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2199 ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก ตรงข้ามเป็นวัดเขาดินใต้ ในสมัยนั้น หลวงพ่อเฮง เกจิดังที่รัชกาลที่ 5 ทรงเลื่อมใสได้ปกครองดูแลทั้งสองวัด โดยทรงถวายเครื่องสังเค็ตในงานศพพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชให้กับหลวงพ่อเฮง ปัจจุบันเครื่องสังเค็ตนี้เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของวัดมหาโพธิใต้

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

6. วัดเขาดินใต้ (วัดพระหน่อธรณินทรใกล้วารินคงคาราม) วัดชื่อยาวที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงนี้ เป็นวัดพี่น้องกับวัดมหาโพธิใต้ที่อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำ เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นทางชลมารค ได้ทรงแวะท่ีวัดเขาดินใต้ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2449 ทรงสนธนาธรรมกับหลวงพ่อเฮง แล้วทรงเลื่อมใสในศีลาจารวัตรของหลวงพ่อเฮงมาก จนทรงบริจาคเงิน 100 บาท ร่วมสร้างศาลาวัดเขาดินใต้ และทรงแต่งตั้งหลวงพ่อเฮงให้เป็นพระครูชั้นพิเศษนาม พระครูพิสิษฐสมถคุณ ได้รับนิมนต์ไปในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ตลอดรัชกาล ใครที่มาเที่ยววัดเขาดินใต้ ต้องห้ามพลาดการชมมณฑปเก่าประดิษฐานรอยพระบาทจำลองสำริดหายากเป็น 1 ใน 8 รอยที่มีในประเทศไทย ที่พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานในปี พ.ศ. 2456 เพื่อรำลึกถึงวัดที่พระพุทธเจ้าหลวงเคยทรงเสด็จ แล้วเดินขึ้นบันไดนาคสวยงามเพื่อขึ้นภูเขาหิน ที่มีตำนานเรื่องทางเข้าถ้ำลับแล ไม่แน่ว่าอาจแว่วเสียงบรรเลงปี่พากย์โบราณให้ได้ยินในบางเวลาก็เป็นได้

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง
ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม
7. วัดเขื่อนแดง (วัดศรีสุวรรณ) ที่หน้าวัดนี้มีศาลาที่ประทับของรัชกาลที่ 5 สมัยที่เคยเป็นที่ตั้งของค่ายทหารนครสวรรค์มาก่อน ครั้งที่เสด็จประพาสต้นมณฑลนครสวรรค์ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระองค์ได้ทรงประทับที่ศาลาหน้าวัดแห่งนี้ แล้วเสด็จรับฟังการพิจารณาคดีตามคำปรึกษาของศาลทหารในคดีอ้ายวิม พลทหารที่ฆ่านายสิบตาย ซึ่งพระองค์ได้ทรงตัดสินไปตามพระราชกำหนดกฎหมายข้อบังคับของค่ายทหารที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ปัจจุบันค่ายทหารนี้ได้ย้ายไปอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้ชื่อว่าค่ายจิรประวัติ เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พระองค์เจ้าจิรประวัติ พระราชโอรสของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีความสามารถทางด้านการทหาร ที่ได้ไปศึกษาด้านวิชาทหารในต่างประเทศ จนได้เป็นเสนาธิการทหารบกคนแรก

ในภาพอาจจะมี ต้นไม้, บ้าน, ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, เมฆ, พื้นหญ้า, ต้นไม้ และ สถานที่กลางแจ้ง

8. วัดเกาะหงษ์ หรือวัดบ้านเกาะ แม้จะเป็นวัดเล็ก ๆ แต่พระพุทธเจ้าหลวงก็ได้ทรงให้ความสำคัญคราวที่เสด็จประพาสต้น เพราะความแปลกประหลาดของพระสังกัจจายน์ยืนยิ้มกุมท้องแปลกกว่าที่อื่น ซึ่งพระองค์ทรงพอพระทัยเป็นอันมาก จึงขออัญเชิญพระสังกัจจายน์ไปแล้วพระราชทานทรัพย์จำนวน 1 ชั่ง (ประมาณ 80 บาท) เพื่อจัดสร้างองค์ใหม่ทดแทน ความแปลกของวัดเกาะหงษ์ยังไม่หมดแค่นั้น ยังมีรอยพระพุทธบาทที่ไม่วางอยู่บนแท่น กลับไปอยู่ที่ผนังโบสถ์แทน เป็นปริศนาธรรมอีกชิ้นหนึ่งให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้เก็บไปขบคิดหาคำตอบกันเอาเอง

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, เมฆ และ สถานที่กลางแจ้ง
ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
9. วัดพระปรางค์เหลือง วัดโบราณเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในอำเภอพยุหะคีรี มีการคำนวณอายุว่าสร้างขึ้นประมาณปีพุทธศักราช 2305 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย วัดนี้มีชื่อเสียงด้านภูมิปัญญาแพทย์แผนโบราณในการรักษาโรคเคล็ดขัดยอก และอัมพาตโดยวิธีการเหยียบฉ่า วิธีการรักษาที่สืบทอดมาจากตำราโบราณที่ให้พระหมอใช้เท้าเหยียบยาสมุนไพร แล้วเหยียบลงบนแผ่นเหล็กเผาไฟจนแดงร้อนจัด เหยียบลงบนคนไข้จนเกิดเสียงดังฉ่า จนอาการต่าง ๆ ก็จะบรรเทาอาการลงและสบายขึ้น ซี่งพระพุทธเจ้าหลวงได้เคยเสด็จมาดูวิธีการเหยียบฉ่าช่วงประพาสต้นมนฑลนครสวรรค์ ทรงรับน้ำมนต์มหาจินดาสารพัดนึก น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงิน ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงหยุดวันปิยะนี้ ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมไปไหนก็ลองมาเที่ยวไหว้พระ 9 วัดตามรอยเสด็จประพาสต้นมณฑลนครสวรรค์กันได้ เพราะนอกจากจะได้ท่องเที่ยวชมวัดเก่าแก่โบราณที่สวยงาม ได้ชื่นชมธรรมชาติในช่วงปลายฝนต้นหนาว ได้นมัสการทำบุญ ได้ความรู้ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา แล้วยังได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเรา ได้เยอะแยะคุ้มค่าแบบนี้ไม่มาเที่ยวนครสวรรค์ไม่ได้แล้ว

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, เมฆ, ต้นไม้, ต้นพืช, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*