สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) จัดปาฐกถาพิเศษ
EEC ในแนวโน้มการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวภาคอุตสาหกรรมในยุค 4.0
กรุงเทพฯ – สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ผู้เชี่ยวชาญที่สั่งสมความรู้ และเผยแพร่วิทยาการในวงการอุตสาหกรรมไทยกว่า 45 ปี จัดปาฐกถาให้ความรู้แก่เหล่าสมาชิกและบุคคลทั่วไป
โดยคุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ Mr.HIROKI MITSUMATA ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ( JETRO ) ว่าด้วยเรื่องแนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทย และแนวโน้มการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย ที่มีต่อศักยภาพของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ( EEC ) ภายใต้งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2560
การปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อโครงสร้างในการพัฒนาและขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยและเศรษฐกิจไทย โดยผู้ร่วมงานจะได้พบกับเหล่าขุนพลระดับประเทศ บนเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ เริ่มต้นด้วยร่วมเปิดมุมมองการค้า การลงทุนของญี่ปุ่นสู่ไทย โอกาส และศักยภาพของไทยในการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เพื่อให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย ที่จะสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชน กับบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Eastern Economic Corridor : EEC – Investment trends of Japanese companies ” ให้เกียรติโดย Mr.HIROKI MITSUMATA President of JETRO Japan External Trade Organization (JETRO), ต่อเนื่องด้วยการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “Eastern Economic Corridor : EEC และแนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0”
สิ่งที่น่าสนใจของเสวนาในครั้งนี้คือ นอกจากผู้ที่ได้ร่วมรับฟังจะได้ทราบถึงทิศทางของอนาคตอุตสาหกรรมไทยว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) จะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจประเทศไทยสู่สากลได้อย่างไรแล้ว งานนี้ยังเป็นการรวมตัวของเหล่าบุคคลสำคัญในแวดวงธุรกิจและนักวิชาการจำนวนมากที่มาร่วมงาน
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) กล่าวว่า “จากนโยบายของภาครัฐว่าด้วยเรื่องการผลักดันภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย ที่จะสนับสนุนการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขัน การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการยกระดับ คุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชน ภายใต้บทบาทและพันธกิจของ ส.ส.ท. ที่มุ่งส่งเสริมและมุ่งพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรม พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนจากญี่ปุ่นด้วย ซึ่งเรามั่นใจว่าการเชื่อมโยงและผลักดันศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”
นายฮิโรกิ มิทสึมะตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ผู้บรรยายในหัวข้อ แนวโน้มและยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย กล่าวว่า “ไทยและญี่ปุ่น มีความใกล้ชิดกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะใน ด้านการลงทุน ซึ่งผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นเป็นกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ จากญี่ปุ่น ได้เข้ามาลงทุนครบทุกรายแล้ว และได้ช่วยดึงให้ผู้ผลิตชิ้นส่วน รายสำคัญ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ ตามเข้ามาลงทุนเพื่อป้อนให้ ผู้ผลิตรายใหญ่จำนวนมาก ดังนั้น หากเราสามารถดึงดูดให้บริษัทญี่ปุ่นใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในระดับต้นๆ ของโลก เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น บริษัทเหล่านี้จะเป็น แม่เหล็กช่วยดึงโครงการลงทุนอื่นๆ ตามเข้ามาในอนาคต ซึ่งอุตสาหกรรม เป้าหมายเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญของประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0”
คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้บรรยาย ในหัวข้อ “แนวทางการปรับตัวภาคอุตสาหกรรมในยุค 4.0 กล่าวถึงจุดเด่นของ อุตสาหกรรม 4.0 ว่า เป็นการผลิตที่เปลี่ยนจาก Mass Production เป็น Mass Customization นั่นก็คือ โรงงานในยุค 4.0 หรือ Smart Factory จะมีกระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ระบบไซเบอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ครบวงจร ควบคุมการสื่อสาร ทำให้เกิดการผลิตสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกันในแต่ละราย ในระยะเวลาอันสั้น เมื่อเทียบกับการผลิตในอุตสาหกรรม 3.0 ที่ผลิตสินค้าได้จำนวนมาก แต่สินค้าจะเป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งกระบวนการผลิตของยุค 4.0 จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมไทย เพราะเป็นระบบการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คือ ประหยัดเวลา ใช้แรงงานน้อยลง และกระบวนการผลิตมีความแม่นยำน่าเชื่อถือ
สำหรับ ปาถกฐาพิเศษในครั้งนี้ จะเป็นการนำเสนอข้อมูลและสาระสำคัญอันเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยสู่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศในเรื่องใดนั้นยังคงเป็นหน้าที่สำคัญที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่ผลักดันและส่งเสริมความรู้ควบคู่การพัฒนาบุคลากรอันเป็นเจตนารมณ์สำคัญมาตลอดระยะเวลา 45 ปี ต่อไป ด้วยความภาคภูมิใจที่ได้อยู่เคียงคู่อุตสาหกรรมและสังคมไทยตลอดมา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
ส่วนงานประชาสัมพันธ์ | สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น) | www.tpa.or.th / โทร. 0-2258-0320 ต่อ 1111/ 1113
ติดต่อ : คุณพีระพันธุ์ คนคง (ก๊อต) โทร. 080 072 9477 อีเมลล์ peerapan@tpa.or.th
คุณศันสนีย์ กันอ่วม (แอน) โทร. 081 308 0474 อีเมลล์ sansanee@tpa.or.th
คุณอริศรา คำพยา (โบว์) โทร. 089 992 2633 อีเมลล์ arissara@tpa.or.th
เกี่ยวกับ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) /ส.ส.ท.
ประวัติความเป็นมา
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ถือกำเนิดขึ้นจากความตั้งใจมุ่งมั่น ความร่วมมือร่วมใจ และความเสียสละ ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจ ของกลุ่มผู้ที่เคยไปศึกษาและดูงานโดยทุน ABK & AOTS ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นประธานคณะกรรมการก่อตั้ง และสำเร็จด้วยความช่วยเหลืออย่างดี จาก อาจารย์ โงอิจิ โฮซูมิ อดีตประธานกรรมการ สมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย (JTECS) โดยได้รับความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนจาก กระทรวงการค้าระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่มีพันธะผูกพันใด ๆ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 มกราคม 2516 มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเผยแพร่และถ่ายทอดให้แก่บุคลากรไทย เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย มากว่า 40 ปี ผ่านกิจกรรมและบริการอันหลากหลายสู่สังคม ไม่ว่าจะเป็น การจัดหลักสูตรฝึกอบรม-สัมมนา,การเทียบโอนการศึกษาระดับปริญญา, การศึกษาทางไกล, การสอนภาษาต่างประเทศโดยโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ส.ส.ท. การจัดประกวดให้รางวัลคุณภาพ บริการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ บริการสอบเทียบและวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม และศูนย์ทดสอบทางวิชาการและวิชาชีพอุตสาหกรรม ตลอดจนการผลิตตำราสนับสนุนวิชาการต่างๆ มากมายภายใต้สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. อีกทั้งได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาขึ้นในนาม “สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น” หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thai-Nichi Institute of Technology” ที่รู้จักโดยย่อว่า TNI ที่มุ่งสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเฉพาะทางขึ้น เพื่อป้อนบุคลากรให้แก่สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมของไทย
***เครดิตภาพ ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ www.Thainewsvision.com
และคุณ พาฝัน ปิ่นทอง ช่างภาพ
Leave a Reply