บทสัมภาษณ์พิเศษนักวิจัยระดับโลก .ดร.คาร์ล แอล ฮาร์ต และ ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ เกี่ยวกับมุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) สารเสพย์ติดชื่อดังของไทย

การสัมมนา UNGASS 2016 ที่กรุงเทพฯ

บทสัมภาษณ์พิเศษนักวิจัยระดับโลก .ดร.คาร์ล แอล ฮาร์ต และ ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ เกี่ยวกับมุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) สารเสพย์ติดชื่อดังของไทย

บทสัมภาษณ์ นักวิชาการและนักวิจัยด้านยาเสพย์ติดที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดร. คาร์ล แอล ฮาร์ท และ ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ แพทย์ผู้ศึกษาวิจัยด้านด้านยาเสพย์ติด จากการสัมมนา เรื่อง ทิศทางของนโยบายยาเสพติดโลกภายหลังการประชุม UNGASS (2016) กับการพิจารณาทบทวนกฎหมายและการตีความของไทยเกี่ยวกับยาเสพติด ( The Conference on World Drug Policy directions after UNGASS 2016 and Reviews on Thai Drug Laws and their interpretation) เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว (บทสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2559 เวลา 18.00 – 19.00 น. ที่ห้องกรุงเทพฯ โรงแรมเซ็นทารา เซ็ลทรัล ลาดพร้าว)

จากการประชุม UNGASS 2016 ที่กรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ อันเพื่อหารือความคิดเห็นอันจะนำไปสู่มิติใหม่ในการจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างสร้างสรรค์และมีมนุษยธรรมโดยมีพลเอก นิวัตร มีนะโยธิน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรมและนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรมผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนจากสถานทูตประเทศต่างๆ นักวิชาการ นักวิจัยที่มีชื่อเสียง เข้าร่วมการประชุมฯ

สืบเนื่องจากกรณีที่ท่าน รัฐมนตรียุติธรรม เตรียมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความเป็นไปได้ในการยกเลิกยาบ้า ออกจากบัญชียาเสพติด
พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวในการประชุมเรื่องทิศทางนโยบายยาเสพติดโลก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมาว่า การแก้ไขยาเสพติด ก่อนหน้านี้ทุกประเทศ มีแนวคิดทำให้โลกปราศจากยาเสพติดด้วยประกาศสงครามแต่เมื่อทำงานร่วมกับยาเสพติดมายาวนานจนถึงปัจจุบัน โลกยอมจำนนให้ยาเสพติด ขณะนี้ทิศทางเรื่องยาเสพติดของโลกกำลังเปลี่ยนไปด้วยการยอมรับและหันกลับมาคิดว่าจะอยู่ร่วมกับยาเสพติด ได้อย่างไรบ้าง สำหรับประเทศไทยได้เรียกร้องต่อที่ประชุมสมัยพิเศษของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเรื่องยาเสพติด (UNGASS) ปี 2016 ให้ลงโทษอย่างมีสัดส่วน โดยเฉพาะกับสารกระตุ้นในกลุ่มแอมเฟตามีน พร้อมทั้งยังเรียกร้องให้มีมาตรการอื่นแทนการจำคุก ปัจจุบันอยู่ระหว่างผลักดันร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งจะเปิดช่องให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำคุกหรือปรับที่น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ โดยให้พิจารณาเป็นรายกรณีและขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของกฤษฎีกา
สัมภาษณ์ ดร.คาร์ล แอล ฮาร์ต (Neuroscientist Drug Researcher Columbia University)
ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ (หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว)

Q : ต้องการที่จะทราบที่มาที่ไปของข่าวที่ออกมาในสื่อที่เป็นประเด็นในขณะนี้ ในหัวข้อ “ทำให้ ยาบ้าถูกกฎหมาย” โดยต้องการจะถอดออกจากยาเสพติดประเภทที่หนึ่ง ซึ่งเราทุกคนรับรู้มา เป็นสิบปีว่ายาบ้าเป็นสารเสพติดอันตราย ทำไมถึงมีการพิจารณาให้ยาบ้าถูกกฎหมาย

A : ถ้าศึกษาข้อกฎหมายย้อนหลังไปหลายสิบปี กฎบัตรสหประชาชาติในปี ค.ศ.1976 ประเทศไทยถือว่าแอมเฟตามีนเป็นสารออกฤทธิ์ต่อประสาท เป็นสารออกฤทธิ์ กลุ่มที่สอง ถือเป็น สารที่มีประโยชน์ทางการแพทย์มาก ในปีพ.ศ.2539 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นยาบ้าตามข้อเสนอของนายเสนาะ เทียนทอง ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและเปลี่ยนประเภทจากสิ่งเสพติดประเภท 3 ซึ่งจำหน่ายได้ในร้านขายยาเป็นสิ่งเสพติดประเภท 1 ซึ่งห้ามจำหน่ายและมีบทลงโทษต่อผู้ขายและผู้เสพรุนแรง จึงทำให้เห็นว่าการเสพยาบ้าเป็นคดีอาญาในประเทศไทยประเทศเดียวในโลกและแบนแอมเฟตามีนอย่างเด็ดขาด ทำให้แพทย์ไม่สามารถใช้ยานี้ได้เพื่อรักษาคนไข้ จึงเป็นที่มาของการขุดคุ้ยว่าเรามาถูกทางหรือเปล่าที่ทำแตกต่างจากชาวโลก เราสามารถแสดงผลในด้านบวกหรือเปล่าหรือทำให้แย่กว่าเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เพราะในเรือนจำของประเทศไทยคดีต่างๆ เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์เป็นคดียาบ้า ในจำนวนนี้สี่สิบเปอร์เซ็นต์เป็นคดีเสพยาบ้า และมีผู้ต้องขังเป็นหญิงจำนวนมาก ตั้งแต่อายุสิบกว่าปีไปจนถึง 60-70 ปี แก้อย่างไรก็ไม่ไหวจะต้องแก้ที่ต้นเหตุเพราะผู้กระทำผิดถูกจับมาจนล้นเรือนจำ ในความเห็นของผู้พิพากษามีผู้ต้องหาถูกกฎหมายลงโทษเข้ามาในเรือนจำมากเกินไปจากโทษที่รุนแรงเกินไป จึงทำให้เกิดมีโครงการกำลังใจของพระองค์ภาฯ เข้ามาดูแลผู้ต้องขังหญิง จึงเห็นว่าข้อมูลทางวิชาการแย่กว่าสิบปีที่ผ่านมา

Q: ส่วนในภาคของประชาชนก็มีความกังวลว่าถ้าเปลี่ยนยาบ้ามาเป็นสารเสพติดประเภท 3 ที่ สามารถซื้อขายได้ จะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้นหรือไม่

A: ลำพังแอมเฟตามีนโดยตัวของมันเองไม่มีผลทำให้คนคลุ้มคลั่ง ถ้ามีผลก็คือมีผลต่ออาการทาง จิตประสาทไม่หลับไม่นอน ถ้าเอากลุ่มคนที่มีอาการทางจิตได้รับยาแอมเฟตามีนก็ทำให้เกิดผลเช่นเดียวกันซึ่งน่าจะมาจากผลทางพันธุกรรมมากกว่า หนึ่งเปอร์เซ็นต์ของประชาการโลกจะมีอาการทางจิตอยู่แล้ว ตัวแอมเฟตามีนไม่น่าใช่สาเหตุหลัก

Q: ประโยชน์ของแอมเฟตามีนมีอะไรบ้าง

A: มีประโยชน์ทางการแพทย์ รักษาโรคเหงาหลับ, ในโรคสมาธิสั้น และใช้ในทางการทหาร ฯลฯ ผลการวิจัยการนำมาใช้ทางการแพทย์ช่วยเสริมให้ระบบประสาทดีขึ้นในปริมาณที่เหมาะสม จึงใช้ในกลุ่มคนมีสมาธิสั้นได้ทำให้มีสมาธิดีขึ้น

Q: ผลกระทบทางด้านลบของแอมเฟตามีนจากคุณสมบัติที่เป็นสารกระตุ้น

A: การไม่นอนไม่กิน ไม่หิว ก็เป็นอันตราย สารกระตุ้นก็จะกระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด ควรจะอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ในการจะใช้ให้เหมาะสมไม่เป็นอันตราย

Q: ร่างประมวลกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด

A: ถ้าเราควบคุมอย่างเหมาะสมก็จะลดผลกระทบ แทนที่จะปล่อยให้มีการซื้อขายแบบใต้ดินเปลี่ยนเป็นแบบที่เราสามารถควบคุมได้ เพราะการมีคนล้นคุกก็ใช่ว่าจะได้ผล ถ้ามีทางเลือกที่ได้ผลดีกว่าก็น่าจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

จากการประชุม เรื่องทิศทางของนโยบายยาเสพติดโลกภายหลังการประชุม UNGASS (2016) กับการพิจารณาทบทวนกฎหมายและการตีความของไทยเกี่ยวกับยาเสพติด มีทั้งแพทย์ ผู้พิพากษา, เลขา ปปส. และมีรัฐมนตรียุติธรรมมาเปิดงานอบรมในครั้งนี้ ผู้พิพากษาเห็นว่าควรปรับปรุงร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ควรจะปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจะดีกว่า แทนที่จะเหมารวมและลงโทษก็จะมีทางเลือกที่เหมาะสมไม่ใช่เข้าคุกอย่างเดียว อย่างคดีที่ถือครอง 1.5 เม็ดซึ่งข้ามมาจากลาวต้องจำคุกถึง 25 ปี จึงอยากจะปลดล็อคกฎหมาย เปิดช่องให้ตัดสินได้อย่างเหมาะสมคือจะจำแนกผู้ค้ารายใหญ่ให้ชัดเจนและยังปราบอย่างรุนแรงอยู่ มีบทลงโทษให้หนัก การให้สินบนนำจับก็ให้เฉพาะรายใหญ่ ไม่ใช่รายเล็กๆ ไม่ปราบแบบเหมารวม ควบคุมตลาดมืดให้ลดลงด้วย ปัญหาในตอนนี้คือต้องการปรับในร่างกฎหมายใหม่เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถมีดุลพินิจในการตัดสินได้เพราะมีผู้เป็นเหยื่อมาก ไม่ใช่เข้าคุกอย่างเดียวและสามารถตัดสินได้อย่างสบายใจขึ้น กลุ่มที่เป็นเหยื่อน่าจะมีทางรักษาได้ เปิดโอกาสให้เข้าถึงทางการแพทย์และต้องมีการบริการทางสังคมร่วมไปด้วยกัน ต้องแก้ทั้งทางด้านสังคมและประมวลกฎหมายนี้เพื่อให้เหมาะสมด้วย

Q: เรื่องเกี่ยวกับมายาคติที่มีต่อแอมเฟตามีน

A: ดร.คาร์ล ไม่เชื่อทางมายาคติจึงใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ในการให้คนมีการรับแอมเฟตามีนในขนาดที่แตกต่างกันและพบว่าเมื่อรู้ว่าใช้เท่าไหร่ในระดับที่เหมาะสมก็สามารถเพิ่มการเรียนรู้ แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็จะไม่หลับไม่นอนซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ร่างกายอยู่แล้ว คือทำให้ไม่ได้พักผ่อน สำหรับคนไทยมายาคติคือเม็ดเดียวก็ติดแล้ว จากการศึกษาตัวยาที่กินไปในทางวิทยาศาสตร์ไม่มีสารเคมีใดๆ ที่ทานครั้งเดียวแล้วจะติดก็เลย ทดลองใช้คนที่ติดแอมเฟตามีนที่มีเกณฑ์ทางการแพทย์ระบุว่าติดอย่างชัดเจน ไม่มีเรี่ยวแรงถ้าไม่ได้กิน เมื่อนำมาทดลองให้แอมเฟตามีนกับเงินถ้าเงินน้อยก็อยากได้แอมเฟตามีนแต่เมื่อเพิ่มเงินมากขึ้นจะเอาเงินไม่สนใจแอมเฟตามีน สรุปจะเห็นได้ว่าถึงอย่างไรเขาก็ยังมีสติในการเลือกได้ถึงจะติดแอมเฟตามีนก็ตาม ในภาพกว้างทั้งเฮโรอีน บุหรี่ สุรา แอมเฟตามีนและสารต่างๆ เหล่านี้มีเพียงแค่สิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีผลต่อสุขภาพและติดยา ในประเทศไทยในหนึ่งร้อยคนที่เคยใช้ยาบ้ามีเพียงประมาณไม่ถึงห้าเปอร์เซนต์เท่านั้นทีมีการติด สภาพแวดล้อมก็มีส่วนในการทำให้ติดยา มายาคติไม่เป็นจริงเพราะจากที่ ดร. คาร์ลได้ทดลองตามหลักวิชาการ ทางออกของสังคมจะต้องพิจารณาข้อมูลอย่างมีสติ ดูแหล่งที่มาของมายาคติ ถ้าสังคมจะเชื่อข้อมูลควรจะพิจารณาว่าข้อมูลนั้นมาจากเรื่องเล่าที่เกิดนานๆครั้ง หรือมาจากข้อมูลที่มีการควบคุมให้มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการหรือไม่ หรือมีการเปรียบเทียบในสถานการใกล้เคียงกัน อย่าเชื่อในเรื่องเล่า ข้อมูลที่ได้ควรศึกษาอย่างมีระบบเพื่อให้เราสามารถสรุปผลอย่างแม่นยำ

Q: ถ้าเราเดินมาผิดทางจริงๆ สิ่งที่เกิดขึ้นเราจะเยียวยาให้แก่ผู้ที่ถูกลงโทษภายใต้กฎหมายเดิมอย่างไร

A:การเยียวยาต้องช่วยทั้งทางสุขภาพและสังคม โครงการกำลังใจได้ดูแลผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำทำให้สภาพแวดล้อมในเรือนจำดีขึ้น ก็เป็นการเยียวยาที่ตรงประเด็นแล้ว งานลักษณะนี้ของพระองค์ภาฯ ก็ได้รับการยอมรับจากสากลและยูเอ็นก็ให้รางวัลและมีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์สากลและมาประชุมที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2013 และเรียกว่า Bangkok Rules และได้มาดูที่เรือนจำชายก็มีปัญหามากเหมือนกัน จึงทำให้ทุกเรือนจำมีการปรับปรุงเรียกว่า Mandela Rules จะเห็นได้ว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ที่อยู่ในเรือนจำประเทศไทยเป็นคดียาเสพติดทั้งสิ้น ถ้าปล่อยออกมาจากคุกสังคมจะยอมรับไหมพร้อมที่จะเยียวยาไหม ตอนนี้จะพยายามไม่ให้คนไหลเข้าไปในเรือนจำมากขึ้น จากการจับกุมแบบเหมารวม ต้นทุนยาเม็ดละห้าสิบสตางค์ สินบนเม็ดละสามบาท ถ้าเป็นประโยชน์จะเป็นประโยชน์กับใครในด้านการค้าจึงมีเหยื่อที่ต้องเข้าคุกจากยาเสพติดมาก จำต้องแก้ปัญหาให้เหยื่อเพื่อหาทางเลือกในการลงโทษให้มีการเปิดช่องยีดหยุ่นขึ้นไม่ใช่ขังคุกอย่างเดียว อาจจะลดระดับลงจะไม่มีการขายอย่างอิสระ อย่างไรก็ตามต้องเป็นไปตามใบสั่งแพทย์ ร่างประมวลกฎหมายอยู่ในระหว่างตรวจพิจารณาของกฤษฎีกา

Q: บทสรุปของแอมเฟตามีน

A: ในกฎหมายผู้ที่ครอบครองมีสารแอมเฟตามีนมากกว่า 375 มิลลิกรัมขึ้นไป จะมีบทลงโทษ 4 – 15 ปี ระดับที่มีกำหนดไว้ถ้าครอบครองในประเทศ แต่ถ้ามาจากต่างประเทศจะมีบทลงโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตไปเลย ถ้ามีเฮโรอีนมากกว่า 3,000 มิลลิกรัม ถึงจะมีโทษเท่ายาบ้า เราให้บทลงโทษกับแอมเฟตามีนมากเกินไป ต่างประเทศไม่ได้เป็นอย่างนี้ การลงโทษแรงเกินไปอย่างเช่น 1.5 เม็ดนำเข้ามาจากลาว ยังไม่ทราบว่าถึง 375 มิลลิกรัมรึเปล่า โทษก็ถึงขั้นประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตได้เลยจึงเห็นได้ว่าการลงโทษรุนแรงเกินจึงควรลดทอนความเป็นอาชญากรรมลงไป

เกี่ยวกับประวัติผู้ให้สัมภาษณ์
1.ดร.คาร์ล แอล ฮาร์ต (Dr.Carl L Hart)
Professor Ph.D., University of Wyoming,
ดร.คาร์ล แอล ฮาร์ท เป็นศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาและจิตเวชที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ดร.ฮาร์ทเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงทางด้านการวิจัยเกี่ยวกับยาเสพติดและการเสพติดยาเสพติดของผู้คน ดร.ฮาร์ทยังเป็นศาสตราจารย์นักวิทยาศาสตร์คนเแรกที่เป็นชาวแอฟริกันอเมริกันของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ดร.ฮาร์ท ยังทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ด้านเภสัชวิทยาระบบประสาทที่เกี่ยวข้องยาเสพย์ติด และยังมีหนังสือที่มียอดพิมพ์จำหน่ายขายดีคือ High Price : Drugs, Neuroscience, and Discovering Myself

2. ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์
PhD (Tropical Health Epidemiology), London School of Hygiene and Tropical Medicine, England หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยเกี่ยวกับยาเสพติด

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*